ปิโตรเคมี คือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนเกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์เป็นเวลานาน ภายใต้อุณหภูมิและความดันสูง สารเคมีที่ผลิตจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม โดยผ่านกระบวนการทาง เคมีต่างๆ ที่สำคัญ 2 กระบวนการ คือ กระบวนการทำให้บริสุทธิ์ (refinery process) และกระบวนการทางฟิสิกส์ (physical process)และสารปิโตรเคมีที่สำคัญ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มโอเลฟินส์ ได้แก่ เอทิลีน โพรพิลีน ฯลฯ อีกกลุ่มคือ อะโรเมติกส์ ได้แก่ เบนซิน โทลูอินและไซลีน ทั้งสามสารนี้รวมเรียกว่า BTX
- กลุ่มโอเลฟินส์ ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตพลาสติกชนิดต่างๆ เช่น พอลิไวนิลคลอไรด์ (พีวีซี) พอลิเอทิลีน (พีอี) นอกจากนั้นยังใช้เป็นสาร ตั้งต้นในการผลิตสารเคมีอีกหลายชนิด เช่น ลิเนียร์ แอลกอฮอล์ ซึ่งใช้ผลิตผงซักฟอก
- กลุ่มอะโรเมติกส์ ใช้เป็นตัวทำละลายและใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารเคมีอื่นๆ
ประโยชน์ของปิโตรเลียม
-ใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อเป็นแหล่งให้ความร้อน รวมถึงการใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า เช่น ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas) ก๊าซหุงต้มหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) และน้ำมันเตา (Fuel Oil) เป็นต้น
-ใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้น (Feedstocks) สำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี จะเห็นว่าวัตถุดิบตั้งต้นของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีล้วนมาจากผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมปิโตรเลียม และการใช้งานของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเลียมสามารถแบ่งตามการใช้ประโยชน์หลักๆ ได้ดังต่อไปนี้
-ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับการขับเคลื่อนยานพาหนะต่างๆ เช่น ก๊าซธรรมชาติเหลว (NGL) น้ำมันเบนซิน (Gasoline) น้ำมันดีเซล (Diesel) และน้ำมันเครื่องบิน (JET A1) เป็นต้น
-ใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อเป็นแหล่งให้ความร้อน รวมถึงการใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า เช่น ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas) ก๊าซหุงต้มหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) และน้ำมันเตา (Fuel Oil) เป็นต้น
-ใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้น (Feedstocks) สำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะนำวัตถุดิบจากอุตสาหกรรมปิโตรเลียมเหล่านี้ ไปผลิตต่อเนื่องจนเป็น เม็ดพลาสติก ใยสังเคราะห์ ยางสังเคราะห์ สารเคลือบผิว และกาวต่างๆ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ถือเป็นวัตถุดิบพื้นฐานที่สำคัญในการผลิตเครื่องอุปโภคบริโภคพื้นฐานของมนุษย์ ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ รวมไปจนถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่ทำให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
ปิโตรเคมีในประเทศไทย
ปัจจุบันประเทศไทยได้ขุดพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย เพื่อให้ได้รับประโยชน์มากที่สุดในเชิงพาณิชย์ จึงได้วางแผนการใช้ประโยชน์จากก๊าซธรรมชาติ โดยกำหนดเป็น 2 โครงการหลัก คือ โครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก (Eastern Seaboard) และโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Southern Seaboard) ซึ่งเป็นการสร้างท่าเรือน้ำลึก สำหรับโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ประกอบด้วยโครงการปิโตรเคมีขั้นต้น ระยะที่ 1 (NPC1) และโครงการปิโตรเคมีขั้นต้น ระยะที่ 2 (NPC2) NPC1 ตั้งอยู่ที่ตำบลมาบตาพุด จังหวัดระยอง จะรับก๊าซอีเทนและโพรเพนจากโรงแยกก๊าซ ซึ่งดำเนินงานโดยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) และส่งเข้าหน่วยที่เรียกว่า Ethane/Propane Cracker และ Propane Dehydrogenator ซึ่งจะได้สารเอทิลีนและโพรพิลีนส่งให้บริษัทเอกชน เพื่อผลิต พลาสติกชนิดต่างๆ NPC2 ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จะผลิตเบนซีน โทลูอีน และไซลีน โดยใช้แพลตฟอร์เมตจากโรงกลั่นไทยออยล์และไพโรไลซีส ก๊าซโซลีน จากหน่วย Olefins Plant ของ NPC1 สารที่ผลิตได้นี้ จะส่งไปยังบริษัทต่างๆ เช่น ใช้เบนซีนเพื่อผลิตกรดเทอเรพทาลิกบริสุทธิ์ (purified terephthalic acid, PTA) ใช้ออโทไซลีนเพื่อผลิตพทาลิกแอนไฮไดรด์ (phthalic anhydride) เป็นต้น
Powerpoint นำเสนอเกี่ยวกับสารอนุพันธ์ของปิโตรเคมี ซึ่งสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปิโตรเคมีได้จากลิงค์ข้างล่าง
เบนซิน
เบนซิน
http://www.ziddu.com/download/10783492/Benzene.ppt.html
เป็นข้อมูลที่ทำให้เห็นชัดเจนมากขึ้นถึงความสำคัญ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น